วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ประวัติเกม Minecraf

เรามาดู ประวัติ minecraft เลยนะครับ
Minecraft คืออะไร?
Minecraft นั้นถือได้ว่าเป็นเกมหนึ่งที่ไม่ได้เน้น Graphics ที่สวยงาม แต่เป็นเกมที่เน้นระบบการเล่นที่ยืดหยุ่นค่อนข้างมาก เรียกได้ว่า สนับสนุนการเล่นอย่างเสรี และ ไม่มีกฎเกณฑ์ เราสามารถทำอะไรก็ได้ในโลกของเกม ตามที่เราต้องการ โดยเนื้อหาหลักๆ ของเกมนั้น เราจะเริ่มต้นที่พื้นที่บนเกาะร้างแห่งหนึ่ง ซึ่งไม่มีมนุษย์คนอื่นอาศัยอยู่เลย โดยเราจะต้องทำการเก็บเกี่ยวหาวัตถุดิบต่างๆ รอบๆ ตัว ที่สามารถขุดจากพื้นดิน กำแพง ภูเขา ต้นไม้ หรือ แม้แต่ถ้ำ ที่กระจายอยู่ในที่ต่างๆ ของโลกใน Minecraft
โลกของ Minecraft นั้น เมื่อเราทำการ New Game ใหม่ (ไม่ได้โหลดจากของเก่า) เกมจะทำการ Generate หรือ สร้างโลกใบใหม่แบบสุ่ม เพื่อให้การเล่นทุกครั้งนั้น สภาพพื้นที่ของทุกๆ สิ่ง ทุกๆ อย่าง รวมทั้งจุดเกิดของคุณนั้นแตกต่างออกไปทุกครั้ง เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซากจำเจ และเกมนี้สามารถที่จะมีพื้นที่ ที่เกือบจะไม่สิ้นสุดอีกด้วย เนื่องจากเกมจะทำการ Generate ส่วนต่างๆ ของโลก เมื่อเราเดินไกลออกไปเรื่อยๆ
เรามีอิสระในการทำอะไรก็ได้บนโลก Minecraft ตามที่เราต้องการ…
มีคนเล่นเยอะไหม?
จากสถิติบน Website หลักของ Minecraft คือ www.minecraft.net ในขณะนี้มีผู้ที่สมัคร ID ทั้งหมด (รวมรุ่นฟรีและรุ่นเสียเงิน) ประมาณ 6,502,332 คน ซึ่งในจำนวนนี้ มีผู้ที่ซื้อ ID แล้ว ประมาณ 1,875,351 ซึ่งทางบริษัท Indie ที่ทำเกม Indie นี้ ก็ได้ออกมาเปิดเผยว่า กำไรที่ทางบริษัทได้รับนั้นราวๆ $33,000,000 หรือประมาณ 1,023,000,000 บาท เลยทีเดียว ซึ่งถือว่าเยอะมากๆ สำหรับเกมเล็กๆ แต่ความคิดไม่เล็ก เกมนี้
วัตถุดิบที่เก็บเกี่ยวมา เอามาทำอะไรได้บ้าง?
วัตถุดิบที่เราเก็บเกี่ยวจาก Block ต่างๆ ที่หาได้ทั่วโลกของ Minecraft (ความจริงแล้วโลกของ Minecraft มันก็สร้างมาจากการที่ Block เรียงตัวกันนั่นแหละ) ง่ายๆ ก็คือ เราสามารถใช้มือเคาะทราย, ดินอ่อน, ต้นไม้ ให้แตกและออกมาเป็นก้อนให้เราเก็บเข้า Inventory ได้ แล้วเราจะสามารถนำมันไปวางเรียงใหม่ ให้เป็นกำแพง, เสา, บ้าน, สะพาน หรือ อะไรก็ได้ แล้วแต่ความคิดของเรา หรือ แม้แต่จะนำมันไป Craft รวมกันเพื่อสร้างอุปกรณ์ในการดำรงชีพต่างๆ หรือ สร้างเป็น Block แบบใหม่ก็ตาม
ที่สำคัญ Block บางชนิดที่เรา Craft ออกมา ยังไปใช้ทำเป็นสวิตช์, รางรถไฟ, วงจร และ อื่นๆ อีกมากมาย
มีศัตรูไหม?
มีแน่นอนครับ มีทั้งแมงมุมยักษ์, ซอมบี้, โครงกระดูกเดินได้ที่ถือธนู, Creeper ที่จะย่องมาข้างหลังเราและพร้อมที่จะก่อหายนะให้กับตัวเราและสิ่งปลูกสร้าง ของเรา และยังรวมศัตรูชนิดอื่นๆ อีกด้วย แต่ก็ยังมีสัตว์ต่างๆ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อเรา และ ยังสามารถให้วัตถุดิบจำพวก ขน, ไข่, เนื้อ ได้อีกด้วย
ระบบ Multiplayer เป็นยังไง และ ต่างจาก Single-Player ยังไง?
ทั้งเหมือน และ ทั้งแต่ต่างครับ เนื่องผู้ให้บริการ Server นั้น สามารถที่จะลง Mod หรือกำหนดกติกาใน Server อย่างไรก็ได้ ให้การเล่นกลายเป็นโหมดอะไรก็ได้ ตามที่ตัวเองต้องการ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีรูปแบบการเล่นอยู่ 4 แบบ หลักๆ
Vanilla – เป็นรูปแบบ Minecraft ดั้งเดิมที่เหมือนกับ Single-Player คือผู้เล่นเข้ามา ก็ทำการเก็บเกี่ยววัตถุดิบ และ สร้างบ้าน, ที่หลบภัยของตัวเอง หรือ ช่วยกันสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆ และผู้เล่นสามารถทำอะไรก็ได้ ตามที่ตัวเองต้องการ (แต่หลายที่จะไม่ยอมให้รบกวนผู้เล่นคนอื่น หรือ ทำลายสิ่งก่อสร้างของพวกเขา) โดยกติกาจะมีค่อนข้างน้อย และ อาจมีการเปิด หรือ ปิด ระบบ PVP ตามแต่ละ Server ที่ไม่เหมือนกัน (ผู้เล่นโจมตีกันเอง) และเปิด หรือ ปิด ระบบ Monster ตามแต่ละ Server ที่ไม่เหมือนกัน (ศัตรูที่สามารถทำร้ายผู้เล่นได้)
Creative – รูปแบบนี้ ส่วนใหญ่ จะปิดทั้งระบบ PVP และ Monster และอาจลง Mod ทำให้ผู้เล่นสามารถเคลื่อนที่ได้สะดวกมากขึ้น และ สามารถสร้างสิ่งต่างๆ ได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น รวมถึงผู้เล่นอาจไม่สามารถตายได้ ซึ่ง Server นี้ อาจมีกติกาให้ช่วยกันสร้างสิ่งปลูกสร้างตาม Theme ที่กำหนดไว้ หรือ อาจจะสามารถสร้างอะไรสักอย่างที่สร้างสรรค์ และ มีความเสรีด้านความคิด แต่ต้องพึงระวังไว้ว่า Server ประเภทนี้ค่อนข้างเข้มงวดเรื่องการกลั่นแกล้งผู้เล่นผู้อื่น และ การทำงานสิ่งปลูกสร้างของผู้อื่น (บาง Server อาจลง Mod ที่ทำให้เราไม่สามารถพัง Block ของคนอื่นได้)
Roleplay – เป็นรูปแบบการเล่นโดยเราจะต้องสวมบทเป็นตัวละครในเกม ซึ่ง Server ในลักษณะนี้ จะมีกติกรเข้มงวดมาก ตั้งแต่ก่อนเข้า Server เนื่องจาก Server ประเภทนี้ ส่วนใหญ่ จะมีการทำ Whitelist (เป็นรายชื่อที่กำหนดว่า ใครสามารถที่จะเข้าไปเล่นใน Server นั้นๆ ได้ โดยคนที่ไม่ได้อยู่ในรายชื่อก็จะไม่สามารถเข้าได้) ซึ่งการผ่าน Whitelist ของแต่ละที่ก็จะไม่เหมือนกัน บางที่เราก็เพียงแค่เข้าไปตอบคำถามในกระทู้ และ บอกความต้องการว่าทำไมถึงอยากเล่น และ จะทำอะไรให้กับ Server ได้บ้าง แต่บาง Server ที่มีคุณภาพหน่อย ก็อาจจะทำเป็น Website และมีหน้าให้ติ๊กข้อต่างๆ รวมถึง ตอบคำถามต่างๆ หลายข้อด้วยกัน และเมื่อเข้าไป เราก็ต้องสวมบทเป็นตัวละครที่ทาง Server กำหนดไว้ ซึ่งทาง Server ส่วนใหญ่ก็จะมีการบอกว่าเนื้อเรื่องเป็นยังไง และ สถานที่ต่างๆ เรียกว่าอะไร และมีลักษณะอย่างไร ซึ่ง Server ประเภทนี้ จะเน้นให้ผู้เล่นได้ตอบโต้สนทนากับผู้เล่นคนอื่นๆ และ ทำกิจกรรมต่างๆ ขณะที่กำลังสวมบทอยู่ และอาจจะมีการเปิด/ปิด ทั้ง Monster และสัตว์เลี้ยงต่างๆ และ Server ก็จะมีการติดตั้ง Mod ที่ค่อนข้างเยอะ เช่นระบบ Shop/Currency และ อาจจะมีการใช้แผนที่ที่สร้างไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งจะมี อาคารบ้านเรือน, ปราสาท, เมืองต่างๆ ไว้พร้อมหมดทุกอย่างแล้ว
PVP – เป็นรูปแบบการเล่นที่ค่อนข้างแหวกแนว โดย Server นี้อาจจะเน้นการทำลายสิ่งปลูกสร้างที่ทาง Server เตรียมไว้ให้ และ อาจให้ผู้เล่น สู้กันเอง อาจเป็น Free-For-All หรืออาจมีการแบ่งฝ่าย ซึ่งก็อาจจะเปิด Monster ด้วย เพื่อเพิ่มความสนุก ซึ่งบาง Server ก็จะเปิดเป็นลักษณะ โหมดป้องกันเมืองจาก Monster ต่างๆ โดยกติกาจะไม่ค่อยยุ่งยากนัก แต่ก็มีนิดหน่อย
เล่นฟรีได้ไหม ดาวน์โหลดที่ไหน และ หากเสียเงิน ต้องเสียเท่าไร?
Minecraft ตอนนี้มี 2 รุ่น คือ
Minecraft Demo – เป็น Version ในชุดเดียวกันกับ Minecraft Beta ที่ต้องเสียเงินซื้อ ซึ่งมีข้อจำกัดเล็กน้อย ก็คือ เกมจะจำกัดเวลาไว้ 90 นาที ในแต่ละ World ที่เราสร้าง และหากครบเวลาที่กำหนดแล้ว คุณจะสร้าง หรือ ทำอะไรเพิ่มไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม คุณสามารถทุกสิ่งทุกอย่างได้เหมือนกับในเกมตัวเต็ม 100% และหากเวลาหมด ก็สามารถสร้าง World ใหม่ได้เรื่อยๆ (แต่ต้องเริ่มสร้างทุกสิ่งทุกอย่างใหม่อีกครั้ง) โดยสามารถดาวน์โหลด Demo มาทดลองเล่นได้ที่  www.xgn.in.th
Minecraft Beta – เป็นรุ่นปัจจุบัน ที่ต้องเสียเงิน ซึ่งมีคุณสมบัติทุกอย่าง ที่ผมกล่าวมาทั้งหมด (อาจมีอะไรมากกว่า Demo นิดหน่อย เนื่องจากตัวเต็มมีการ Update อยู่เรื่อยๆ) และยังสามารถเล่นในระบบ Multiplayer และสามารถ Mod เพื่อเพิ่ม Features, ความสามารถต่างๆ ของเกมได้ และเป็นรุ่นที่มีจำนวนผู้เล่นมากที่สุดในขณะนี้ รวมถึงมี Server ที่มากและหลากหลายที่สุด (ของทาง XGN ก็เปิด Beta Server ด้วยเช่นกัน) ซึ่งราคาในตอนนี้ อยู่ที่ €14.95 (ยูโร) ซึ่ง สามารถซื้อ Beta ID (จ่ายเพียงครั้งเดียวเท่านั้น) ได้ด้วยตัวเอง โดยใช้ Credit-Card/Debit-Card หรือ PayPal

1 ความคิดเห็น: